วันเสาร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2556

บทที่ 1 แนวคิดและแนวโน้มเกี่ยวกับข้อมูลสารสนเทศยุคใหม่

บทที่ 1 แนวคิดและแนวโน้มเกี่ยวกับข้อมูลสารสนเทศยุคใหม่

1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสารสนเทศ 
ด้วยปัจจุบันเป็นยุคข้อมูลข่าวสาร และความรู้หรือบางคนอาจกล่าวว่าเป็นยุคของสังคมสารสนเทศ นั่นเอง ที่มีการศึกษาค้นคว้า วิจัยและทดลองในสาขาวิชาต่างๆมากมาย ทำให้เกิดมีความต้องการใช้ ข้อมูล ข่าวสาร สารสนเทศเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่เอื้ออำานวยให้ เพิ่มปริมาณสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว



http://www.learners.in.th/blogs/posts/530104
 
2. ความหมายของสารสนเทศ 
สารสนเทศ หรือสารนิเทศ (Information) เป็นคำเดียวกันซึ่งสามารถให้ความหมายอย่างกว้างๆ ว่าหมายถึง ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ เรื่องราว ข้อเท็จจริงหรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ขณะเดียวกันก็มีความหมายในเชิงลึกว่า หมายถึง ข้อมูล ข่าวสาร ที่ผ่านการประมวลผล ซึ่งมีความหมายและสามารถนำไปใช้ใน การตัดสินใจในชีวิตประจำาวัน หรือการทำงานนั้นๆ  
ชุติมา สัจจานันท์ (2530) ได้ชี้ให้เห็นว่าสารสนเทศ คือข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ข้อสนเทศ สารสนเทศ ทั้งในรปูแบบสงิ่พมิพ์โสตทัศนวัสดุและวัสดุย่อส่วน เพื่อใช้ประโยชน์ทางการสื่อสารและการพัฒนาด้านต่างๆ ทั้งส่วนบุคคลและสังคม 
พิมพ์รำไพ เปรมสมิทธ์ (2538) ให้ความหมาของสารสนเทศว่าเป็นข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงให้ 
อยู่ในสภาพในการนำไปใช้ประโยชน์กับผู้ใช้เฉพาะราย ซึ่่งเป็นการจัดการเพื่อให้ผู้ได้รับมีการเพิ่มพูนhttpความรู้ 
มาลี ล้ำสกุล (2549)ได้สรุปสารสนเทศ คือ ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้รูปแบบต่างๆ ที่มีการบันทึก 
ประมวลผล หรือดำเนินการด้วยวิธีใดๆและสามารถนำไปเผยแพร่และใช้ประโยชน์ทั้งในส่วน บุคคลและสังคม  ฉะนั้นสรุปได้ว่า สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูล ข่าวสาร ที่ได้มีการจัดการไม่ว่าจะเป็นการคิด
คำนวณ ประมวลผลเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ ได้มีการคัดเลือกสรรและนำไปใช้ให้ทันต่อความต้องการ ในการใช้งาน และทันเวลา

 http://www.learners.in.th/blogs/posts/530774

3. ความสำาคัญของสารสนเทศ 
สารสนเทศเป็นปัจจัยที่สำคัญในโลกปัจจุบันนี้ ทั้งนี้เพราะการกำหนดแนวทางพัฒนานโยบาย
ทางด้านการพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ การศึกษา สังคม และวัฒนธรรมมีความสำคัญ
ต่อการพัฒนามนุษย์ และสังคมเพื่อเสริมสร้างความรู้อันที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิต
ทั้งด้านการงานนั้น อีกทั้งเป็น แนวทางในการแก้ไข ปัญหา ช่วยในการวางแผน และช่วยตัดสินใจ 
อย่างเช่นหากผู้ใดที่รู้จักใฝ่เรียนรู้และ ได้รับสารสนเทศที่ดี มีคุณค่า และมีความทันสมัยอย่างต่อเนื่อง ย่อมมีชัยชนะเหนือผู้อื่น ประกอบกับความ เจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต โดยเฉพาะการเข้าถึงสารสนเทศ ของยคุสงัคมข่าวสารที่มีความเกี่ยวข้องกับ
เทคโนโลยสีารสนเทศเพื่อการสื่อสาร ในการทำางานและการเรียนรู้ นั้นจะมีการเข้าถึงสารสนเทศ
โดยระบบเครือข่าย การติดต่อสื่อสารผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ ตลอดทั้งการแพร่ กระจายข้อมูลข่าวสารบนระบบอินเทอร์เน็ตและเว็บไซต์ต่างๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่เห็นการเปลี่ยนแปลงที่แพร่ หลายในสังคม
สารสนเทศที่เน้นคุณค่าของข้อมูล ข่าวสาร มีการจัดเก็บและการใช้ประโยชน์มีการวิจัยพัฒนา 
เพื่อค้นหาข้อมูลข่าวสาร สาเหตุของสิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดข้อมูลข่าวสารใหม่ ๆ ที่มีความสำคัญต่อการวิจัยและ การพัฒนาต่อไป และในวโรกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสดุา สยามบรมราชกุมารี 
เสด็จพระราชดำเนินทรง เป็นองค์ประธาน ในพิธีเปิดการประชุมวิชาการ ของสมาคมห้องสมุด
แห่งประเทศไทย ประจำปีพุทธศักราช 2536 ณ โรงแรมบางกอกพาเลส ทรงดำรัสถึงความสำาคัญ
ของสารสนเทศ ว่า “ในสังคมปัจจุบันนี้ สารนิเทศ ได้มีบทบาทต่อการดำาเนินงานของทุกสาขาอาชีพ ทั้งในภาครัฐและเอกชน ให้ประสพผลสำเร็จและพัฒนาให้ มีความเจริญก้าวหน้า เป็นสื่อที่ก่อให้เกิดความเข้าใจ อันดีระหว่างมวลมนุษย์ทั้งในระดับชาติ และนานาชาติ ประการสำคัญ คือ เป็นสิ่งที่ช่วยพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ ซึ่งส่งผลต่อการ พฒันาเศรษฐกจิ จรยิธรรม สงัคม วฒันธรรม การเมอืง การปกครอง วทิยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ สารนิเทศที่ถูกต้องสมบูรณ์และทันสมัยเท่านั้น ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ”
 (สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย, 2536)


4. ประเภทของสารสนเทศ
              1. สารสนเทศจำาแนกตามแหลง่สารสนเทศ เปน็การจำาแนกสารสนเทศตามการรวบรวมหรือจัดกระทำกับสารสนเทศ จำแนกได้ดังนี้
              1.1 แหล่งปฐมภูมิ (Primary Source) คือ สารสนเทศที่ได้มาจากต้นแหล่งโดยตรง เป็น สารสนเทศทางวิชาการ ผลของการศึกษาค้นคว้า วิจัย รายงาน การค้นพบทฤษฎีใหม่ ๆ เพื่อใช้เป็นแนวทาง ในการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม ซึ่งนำาไปสู่การยอมรับเป็นทฤษฎีใหม่ที่เชื่อถือได้ 
สารสนเทศประเภทนี้มักจะ ถูกถ่ายทอดออกมาในลักษณะของสิ่งพิมพ์ เช่น วารสาร รายงานการวิจัย รายงานการประชุมมและสัมมนา วิชาการ สิทธิบัตร เอกสารมาตรฐานต่าง ๆ ต้นฉบับตัวเขียน จดหมายเหตุ วิทยานิพนธ์ และการถ่ายทอด ทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น วารสารอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
              1.2 แหล่งทุติยภูมิ (Secondary Source) คือ สารสนเทศที่มีการรวบรวม เรียบเรียงขึ้นใหม่ จากแหล่งสารสนเทศปฐมภูมิ มักจะอยู่ในรูปแบบการสรุป ย่อเรื่อง จัดหมวดหมู่ ทำาดรรชนีและสาระสังเขป เพื่อประโยชน์ในการเข้าถึงและสามารถใช้ข้อมูลได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ได้แก่ สื่ออ้างอิงประเภทต่าง ๆ วารสาร ที่มีการสรุปย่อและตีความ รวมถึงหนังสือ ตำารา ที่รวบรวมเนื้อหาวิชาการในการเรียนการสอน สารานุกรม พจนานุกรม รายงานสถิติต่าง ๆ ดรรชนีและสาระสังเขป
              1.3 แหล่งตติยภูมิ(Tertiary Source) คือ สารสนเทศที่จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการค้นหาสารสนเทศ จากแหล่งปฐมภูมและทตุยภมูิจะไม่ได้ให้เนื้อหาสาระโดยตรง แต่จะมีประโยชน์ในการค้นหาสารสนเทศที่ให้ความรู้เฉพาะสาขาวิชา ได้แก่ บรรณานุกรม นามานุกรม ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์จึง ได้มีการจัดเก็บบันทึกข้อมูลไว้ในสื่อคอมพิวเตอร์ มักจะออกนำาเผยแพร่ในรูปของ CD-ROM ฐานข้อมูลออฟไลน์
              2. สารสนเทศจำาแนกตามสื่อที่จัดเก็บ เป็นการจำาแนกสารสนเทศตามชนิดของสื่อที่ใช้ใน การบันทึกข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ได้แก่ กระดาษ วัสดุย่อส่วน สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสื่อแสง       
              2.1 กระดาษ เป็นสื่อที่ใช้บันทึกข้อมูล สารสนเทศ ที่ใช้ง่ายต่อการบันทีก รวมทั้งการเขียน และการพิมพ์ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันจนถึงปัจจุบัน       
              2.2 วัสดุย่อส่วน เป็นสื่อที่ถูกสำเนาย่อส่วนลงบนแผ่นฟิล์มชนิดต่างๆ ทั้งที่เป็นม้วน
และเป็นแผ่น มีการจัดเรียงลำดับเนื้อหาตามต้น เช่น เอกสารจดหมายเหตุ หนังสือพิมพ์ เอกสารสำาคัญ วิทยานิพนธ์ เป็นต้น      
              2.3 สื่ออิเล็กทรอนิกหรือสื่อแม่เหล็ก เป็นวัสดุสังเคราะห์เคลือบด้วยสารแม่เหล็ก สามารถ บันทึกและแก้ไขข้อมูลได้สะดวกทั้งข้อมูลที่เป็นแอนาล็อก และดิจิตอล เช่น เทปวีดิทัศน์ เทปบันทึกเสียง ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น      
              2.4 สื่อแสงหรือสื่อออปติก (Optical Media) เป็นสื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลและอ่านข้อมูล ด้วยแสงเลเซอร์ เช่น ซีดี-รอม ดีวิดี เป็นต้น ซึ่งมีความจุมากเป็นพิเศษ

5. คุณสมบัติของสารสนเทศ
             1) สามารถเข้าถึงได้ง่าย (Accessibility)
             2) มีความถูกต้อง (Accurate) 
             3) มคีวามครบถว้น (Completeness) 
             4) ความเหมาะสม (Appropriateness)
             5) ความทันต่อเวลา (Timeliness)
             6) ความชัดเจน (Clarity)
             7) ความยดืหยุ่น (Flexibility)
             8) ความสามารถในการพิสูจน์ได้ (Verifiability) 
             9) ความซ้ำาซ้อน (Redundancy)
            10) ความไมล่ำาเอยีง (Bias)

6. แหล่งสารสนเทศและทรัพยากรสารสนเทศ
             1) แหล่งสารสนเทศที่เป็นสถาบัน 
             2) แหล่งสารสนเทศที่เป็นสถานที่
             3) แหล่งสารสนเทศที่เป็นบุคคล
             4) แหล่งสารสนเทศที่เป็นเหตุการณ์
             5) แหลง่สารสนเทมศสอื่มวลชน 
             6) แหลง่สารสนเทศที่เป็นอินเทอร์เนต

7. ทรัพยากรสารสนเทศ (Information Resources or Information Materials)
                   ทรัพยากรสารสนเทศ หมายถึง วัสดุหรือสื่อที่ใช้บันทึกข้อมูล ข่าวสาร สารสนเทศ ความรู้ และ ความคิดต่างๆ หรืออาจเรียกว่า วัสดุสารสนเทศ แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ ทรัพยากรตีพิมพ์ (Printed Materials) ทรัพยากรไม่ตีพิมพ์ (Non printed Materials) 
และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Media)
                    7.1 ประเภทและชนิดของทรัพยากรสารสนเทศ    
                    1) ทรัพยากรตีพิมพ์ (Printed Materials) เป็นสารสนเทศที่มีลักษณะเป็นแผ่น หรือรูปเล่มที่ ตีพิมพ์ในกระดาษ มีขนาดต่าง ๆ กัน และมีหลาหหลายรูปแบบ เช่น หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ จุลสาร และกฤตภาค เป็นต้น
                    2) ทรัพยากรไม่ตีพิมพ์ (Non-print Material) คือทรัพยากรสารสนเทศที่มีลักษณะสำาคัญ ที่ แตกต่างจากทรัพยากรตีพิมพ์ ที่ให้สารสนเทศ ความรู้โดยผ่านประสาทสัมผัสทางหู ตา ด้วยการดูและการ ฟัง ทำาให้สื่อความหมาย เข้าใจง่าย
- ทัศนวสัดุ(Visual Materials) เป็นทรัพยากรที่ใช้การมองเห็นหรือสัมผัสเพื่่อรับรู้สารสนเทศ โดยการดู
หรืออาจจะดูด้วยตาเปล่า หรือใช้เครื่องมืออุปกรณ์สำหรับฉายประกอบ ได้แก่ แผนภิมู แผนที่ภาพนิ่ง ภาพเลื่อน รูปภาพ ลูกโลก แผ่นภาพโปร่งใส หุ่นจำลอง ของจริง เป็นต้น  
- โสตวัสดุ (Audio Materials) เป็นวัสดุสารสนเทศที่รับรู้สารสนเทศด้วยการฟังเสียงเพียง อย่างเดียว ได้แก่ จานเสียงหรือแผ่นเสียง เทปเสียง แผ่นซีดี รายการวิทยุกระจายเสียง เป็นต้น  
- โสตทศันวัสดุ(Audiovisual Materials) เป็นวัสดุสารสนเทศที่ให้เสียง และภาพเคลื่อนไหว จึงนับเป็นทรัพยากรที่สื่อสารสนเทศได้ครบถ้วนมาก ได้แก่ ภาพยนตร์วดิทัศน์ วีซีดี ดีวีดี และรายการโทรทัศน์
                   3) สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Materials) หมายถึง การจัดเก็บสารสนเทศที่อยู่ในรูปของ ดิจิทัล (Digital) ซึ่งเป็นสัญญาณไฟฟ้าในระบบคอมพิวเตอร์นั่นเอง สามารถบันทึกสารสนเทศได้ทั้งที่เป็นตัว อักษร ตัวเลข สัญลักษณ์ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ได้แก่ ฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ โดยจำแนกออกเป็น 
 - ฐานข้อมลูออฟไลน์(Offline Database) เป็นสารสนเทศที่สื่อสารกันได้เฉพาะคอมพิวเตอร์ เครื่องหนึ่งเครื่องใดเท่านั้น หากต้องการใช้สารสนเทศข้ามเครื่องจะต้องบันทึก (Copy) สัญญาณดิจิทัลลง ในสื่อ เช่น แผ่นดิสก์เก็ต แผ่นซีดี หรือ รีมูฟเอเบิลไดรว์ (Removable Drive or Handy Drive or Flash Drive) แล้วจึงนำสื่อนั้นไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ได้ 
 - ฐานขอ้มลูออนไลน์เป็นแหล่งสารสนเทศที่มีการรวบรวมอย่างเป็นระบบ เพื่อความสะดวก ในการจัดเก็บและค้นหาสารสนเทศ โดยผู้ใช้สามารถสืบค้นได้จากระบบเครือข่ายที่จัดให้บริการ รูปแบบที่ สารสนเทศที่ให้บริการมีทั้ง ข้อมูลบรรณานุกรมของหนังสือ บทความวาสาร สิ่งพิมพ์อื่น ๆ ข้อมูลสาระสังเขป ข้อมูลตัวเลข สถิติ และเนื้อหาเต็มของสิ่งพิมพ์ ปัจจุบันนี้ระบบที่ใช้กันในชีวิตประจำวันก็คืออินเทอร์เน็ต


 http://mblog.manager.co.th/pisut22/th-72947/