วันอังคารที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2556

บทที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศ

บทที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศ


1. องค์ประกอบของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

              พื้นฐานของเทคโนโลยีสารสนเทศสืบเนื่องมาจากการพัฒนาแบบก้าวกระโดดของ
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ ใยแก้วนำแสง ดาวเทียมสื่อสาร ระบบเครือข่าย ซอฟต์แวร์ และมัลติมีเดีย ประกอบกับราคาของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่ถูกลง แต่มีขีดความสามารถใน
การทำงานที่เพิ่มมาก ขึ้นเรื่อยๆ ทำให้แนวโน้มการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้งานต่างๆ นั้นมีมากขึ้นเป็นลำดับ  ระบบเทคโนโลยสีารสนเทศนนั้อาจกล่าวได้ว่าประกอบขึ้นจากเทคโนโลยีสองสาขาหลกัคอื เทคโนโลยี คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม สำหรับรายละเอียดพอสังเขปของแต่ละเทคโนโลยีมีดังต่อ ไปนี้คือ
http://www.learners.in.th/blogs/posts/530703


1.1 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ 

 1) ฮาร์ดแวร์ ประกอบด้วย 5 ส่วน ได้แก่ อุปกรณ์รับข้อมูล อุปกรณ์ส่งข้อมูล หน่วยประมวลผลก ลาง หน่วยความจำาหลักและหน่วยความจำาสำารอง
- อุปกรณ์รับข้อมูล (Input) เช่น แผงแป้นอักขระ (Keyboard), เมาส์,  เครื่องตรวจ กวาดภาพ (Scanner), จอภาพสัมผัส (Touch Screen), ปากกาแสง (Light Pen), เครื่องอ่าน บัตรแถบแม่เหล็ก (Magnetic Strip Reader), และเครื่องอ่านรหัสแท่ง (Bar Code Reader)   
- อุปกรณ์ส่งข้อมูล (Output)  เช่น จอภาพ (Monitor), เครื่องพิมพ์ (Printer), และเทอร์มินัล                 
-หน่วยประมวลผลกลาง จะทำางานร่วมกับหน่วยความจำหลักในขณะคำานวณหรือประมวลผล 
โดยปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยการดึงข้อมูลและคำสั่งที่เก็บไว้ในหน่วยความจำหลักมาประมวลผล
- หน่วยความจำาหลัก มีหน้าที่เก็บข้อมูลที่มาจากอุปกรณ์รับข้อมูลเพื่อใช้ในการคำานวณ และ ผลลัพธ์ของการคำานวณก่อนที่จะส่งไปยังอุปกรณ์ส่งข้อมูล รวมทั้งการเก็บคำาสั่งขณะกำาลังประมวลผล
 - หนว่ยความจำาสำรอง ทำหนา้ทจี่ดัเกบ็ขอ้มลูและโปรแกรมขณะยังไม่ได้ใช้งาน เพื่อการใช้ในอนาคต


 2) ซอฟต์แวร์

-โปรแกรมระบบปฏิบัติการใช้ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์พ่วงต่อกับ เครื่องคอมพิวเตอร์ตัวอย่างโปรแกรมที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน เช่น UNIX,DOS, MicrosoftWindows   
-โปรแกรมอรรถประโยชน์ ใช้ช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในระหว่าง
การประมวลผล ข้อมูลหรือในระหว่างที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างโปรแกรมทนี่ยิมใช้กันในปัจจุบัน เช่น โปรแกรมเอดิเตอร์ (Editor)    
-โปรแกรมแปลภาษา ใช้ในการแปลความหมายของคำาสั่งที่เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในรูปแบบ ที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจและทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการ
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ เป็นโปรแกรมที่เขียนขึ้นเพื่อทำางานเฉพาะด้านตามความต้องการ ซึ่งซอฟต์แวร์ประยุกต์ นี้สามารถแบ่งเป็น 3 ชนิด คือ 
  - ซอฟต์แวร์ประยุกต์เพื่องานทั่วไป เป็นซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้งานทั่วไป   ไม่เจาะจง ประเภทของธุรกิจ ตัวอย่าง เช่น Word Processing, Spreadsheet, Database Management เป็นต้น   
- ซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะงาน เป็นซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในธุรกิจเฉพาะ ตามแต่วัตถุประสงค์ ของการนำไปใช้  
- ซอฟต์แวร์ประยุกต์อื่นๆ เป็นซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้นเพื่อความบันเทิง และอื่น ๆ นอกเหนือจาก ซอฟต์แวร์ประยุกต์สองชนิดข้างต้น ตัวอย่าง เช่น Hypertext, Personal Information Management และซอฟต์แวร์เกมต่างๆ เป็นต้น
1.2 เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม เทคโนโลยสีอื่สารโทรคมนาคม ใช้ในการติดต่อสื่อสารรับ/ส่งข้อมูลจากที่ไกลๆ เป็นการส่งของข้อมูล ระหว่างคอมพิวเตอร์หรือเครื่องมือที่อยู่ห่างไกลกัน ซึ่งจะช่วยให้การเผยแพร่ข้อมูลหรือสารสนเทศไปยังผู้ใช้ ในแหล่งต่างๆ เป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง 
ครบถ้วน และทันการณ์  ซึ่งรูปแบบของข้อมูลที่รับ/ส่ง
นอกจากนี้ เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถจำาแนกตามลักษณะการใช้งานได้เป็น 6 รูปแบบ ดังนี้ต่อ ไปนี้ คือ
1) เทคโนโลยีที่ใช้ในการเก็บข้อมูล เช่น ดาวเทียมถ่ายภาพทางอากาศ, กล้องดิจิทัลกล้องถ่ายวีดีทัศน์ เครื่องเอกซเรย์ ฯลฯ 
2) เทคโนโลยีที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล จะเป็นสื่อบันทึกข้อมูลต่างๆ เช่น เทปแม่เหล็ก จานแม่เหล็ก, จานแสงหรือจานเลเซอร์, บัตรเอทีเอ็ม ฯลฯ 
3) เทคโนโลยีที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูล ได้แก่ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ 
4) เทคโนโลยีที่ใช้ในการแสดงผลข้อมูล เช่น เครื่องพิมพ์, จอภาพ, พลอตเตอร์ ฯลฯ
5) เทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดทำสำเนาเอกสาร เช่น เครื่องถ่ายเอกสาร, เครื่องถ่ายไมโครฟิล์ม 
6) เทคโนโลยีสำหรับถ่ายทอดหรือสื่อสารข้อมูล ได้แก่ ระบบโทรคมนาคมต่าง ๆ 


http://www.yupparaj.ac.th/RoomNet2545/software3.htm

2. วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศ

วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศจากยุคอนาลอกสู่ยุคดิจิตอลนั้น มีความเป็นมาที่ยาวนาน มากกว่าที่จะมาเป็นเทคโนโลยีที่ ใช้งานกันอยู่ในปัจจุบันนี้ บางช่วงใช้เวลาในการค้นคิดนานเป็นพันปีโดย ไม่มีการเปลี่ยนแปลง บางช่วงก็เร็วมาก หากสังเกตจะเห็นว่าในปัจจุบันการค้นคิดเทคโนโลยีเหล่านี้เปลี่ยน ไปอย่างเร็วมากจนผู้ใช้แทบจะตามไม่ทัน ซึ่งความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิวัฒนาการของ
เทคโนโลยสีารสนเทศ จะช่วยทำให้มองภาพในอนาคตของเทคโนโลยีเหล่านี้ได้ 



วันพุธที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2556

บทที่ 3 การรู้สารสนเทศ

บทที่ 3 การรู้สารสนเทศ


1. ความหมาย
           ในสังคมปัจจุบันซึ่งเป็นสังคมแห่งสารสนเทศ บุคคลในสังคมจำเป็นต้องรับข้อมูลข่าวสารอย่าง ท่วมท้น บุคคลทุกคนจำเป็นต้องมีการพัฒนาตนเอง เพื่อรับรู้ข้อมูลข่าวสารได้อย่างเหมาะสมและถูกต้อง คนในสังคมปัจจุบันจึงต้องมีการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา เพื่อการเท่าทันในข้อมูลข่าวสารที่
หลากหลาย  สังคม ปัจจุบันจึงเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การศึกษาต้องมุ่งเพิ่มขีดความสามารถและโอกาสในการเรียน รู้ของบุคคล และพัฒนาทักษะการรู้สารสนเทศให้แก่บุคคลในสังคมอย่างสม่ำเสมอ เพื่อสามารถนำาความรู้ไป สม่ำเสมอ เพื่อสามารถนำความรู้ไป เสมอ เพื่อสามารถนำความรู้ไป ใช้ในสังคมได้อย่างยั่งยืน
            สรุปได้ว่า การรู้สารสนเทศ หมายถึงการรู้ถึงความจำเป็นของสารสนเทศ (ข้อมูลข่าวสาร) 
การเข้าถึงแหล่งสารสนเทศ การพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การวิเคราะห์และ
ประเมิณสารสนเทศ การจัดระบบประมวลสารสนเทศ การประยุกต์ใช้สารสนเทศเพื่อการตัดสินใจที่มี 
ประสิทธิผลและสร้างสรรค์ การ สรุปอ้างอิงและสื่อสารข่าวสารอย่างมีประสิทธิภาพ ความเข้าใจและยอมรับในจริยธรรมของข้อมูลข่าวสาร การพัฒนาเจตคตินำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต
           ดังนั้นการรู้สารสนเทศของบุคคล จะช่วยส่งเสริมให้บุคคลสามารถเข้าถึงสารสนเทศจากทั่วทุก มุมโลกและนำสารสนเทศออกเป็นความรู้ เพื่อนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภ
าพ นับเป็นการส่งเสริมเสรีภาพในการเรียนรู้ของทุกคนอย่างแท้จริง


2.ความเป็นมา
            จากวรรณคดีและงานวิจัยจากองค์กรและสถาบันต่างๆ ได้แก่ American Association of School Librarians & Association for Educational Communications and Technology (2004) และ The Big 6 Center for Media Literacy National Skills Standard Board (Eisenberg and Berkowitz (2005) สามารถจำแนก
ทักษะการเรียนรู้ในทศวรรษที่ 21 ได้เป็น 4 ลักษณะคือ 1.ทักษะสารสนเทศและการสื่อสาร ได้แก่
ทักษะการรู้สารสนเทศและการรู้สื่อ ทักษะการสื่อสาร 2.ทักษะการคิดและการแก้ปัญหา
ได้แก่ การ คิดวิเคราะห์ และการคิดเป็นระบบ การระบุปัญหาการดำเนินการและแนวทางการแก้ปัญหา ความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ และความใฝ่รู้เชิงปัญญา 3.ทักษะปฏิสัมพันธ์และการชี้นำตนเอง ได้แก่
ทักษะการปฏิสัมพันธ์ และการประสานร่วมมือ การชี้นำตนเอง การเป็นที่น่าเชื่อถือ และการปรับตัว
4. การรับผิดชอบต่อสังคมจากทักษะการเรียนรู้ดังกล่าว จะเห็นได้ว่า ทักษะการรู้สารสนเทศ เป็นทักษะหนึ่งที่จำาเป็นยิ่งสำาหรับการเรียนรู้ในทศวรรษนี้ 
             นอกจากนี้ยังมีการนำาเสนอสารสนเทศในลักษณะต่างๆ ได้แก่ การรู้สื่อ (Media Literacy)
เป็นความสามารถในการเปลี่ยนแปลง วิเคราะห์ ประเมิน และสื่อสาร ในรูปแบบที่มีความหลากหลาย
ของสื่อได้ การรู้คอมพิวเตอร์ (Computer Literacy) เป็นความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ และซอฟแวร์เพื่อเข้าถึง สารสนเทศ การรู้เชิงทัศนะ (Visual Literacy) เป็นความสามารถในการเข้าใจความหมายและองค์ประกอบ ต่างๆของภาพที่เห็น การรู้ดิจิตอล (Digital Literacy) เป็นความสามารถเข้าใจและใช้สารสนเทศรูปแบบ ต่างๆ จากแหล่งที่กว้างขวางเมื่อมีการนำาเสนอผ่านทางคอมพิวเตอร์ และดิจิตอล การรู้เครือข่าย (Network Literacy) เป็นความสามารถจัดการกับสารสนเทศในเครือข่ายรอบโลก เพื่อวิเคราะห์ และแก้ปัญหา เพื่อส่ง เสริมคุณภาพชีวิตโดยรวม
            การรู้สารสนเทศจึงเป็นเป้าหมายการเรียนรู้สำคัญของบุคคล การรู้สารสนเทศต้องอาศัย
ความสามารถในการเข้าถึง ประเมิน และการใช้สารสนเทศ การรู้สารสนเทศจึงเป็นองคป์ระกอบสำคัญในการสร้าง คุณลักษณะให้บุคคลเป็นผู้มีความรู้ มีความคิดวิเคราะห์ มีความสามารถด้านสารสนเทศ และช่วยให้บุคคลเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต

3. องค์ประกอบของการรู้สารสนเทศ
           องค์ประกอบของการรู้สารสนเทศประกอบด้วย ความเข้าใจ และความสามารถส่วนบุคคลที่ตระหนักถึงความจำเป็นของสารสนเทศ โดยต้องมีความสามารถดังต่อไปนี้
    1) ความสามารถในการเข้าถึงสารสนเทศ    เต็มไปด้วยเทคโนโลยี สามารถระบุแหล่งและสืบค้น ด้วยการใช้ความรู้และกลยุทธ์เพื่อคัดสรร แก้ไข วิเคราะห์ สังเคราะห์ สร้างสรรค์และสื่อสาร กับฐานข้อมูลทั่วไป และฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เช่นซีดีรอม อินเทอร์เน็ต เป็นต้น

     2) ความสามารถในการประเมินสารสนเทศ   ประกอบด้วยความสามารถในการสังเคราะห์ หรือตีความ
สามารถตัดสินใจได้ว่าแหล่งสารสนเทศใดมีความน่าเชื่อถือ โดยอาศัยข้อเท็จจริงและความเที่ยงตรง

     3) ความสามารถในการใช้สารสนเทศ ประกอบด้วยความเข้าใจประเด็นทางเศรษฐกิจ สังคม
วัฒนธรรม



4. คุณลักษณะและความสามารถในการรู้สารสนเทศ
           SUNY Council of Library Directors Information Literacy Initiative (2003) ได้ เสนอคุณลักษณะและความสามารถในการรู้สารสนเทศของบุคคลดังนี้
1) ตระหนักถึงความจำเป็นของสารสนเทศ
2) สามารถกำหนดขอบเขตของสารสนเทศที่จำเป็น
3) เข้าถึงสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4) ประเมินสารสนเทศและแหล่งสารสนเทศได้
5) นำสารสนเทศที่คัดสรรแล้วสู่พื้นความรู้เดิมได้
6) มีประสิทธิภาพในการใช้สารสนเทศได้ตรงตามวัตถุประสงค์
7) เข้าใจประเด็นทางเศรษฐกิจสังคมวัฒนธรรมและกฎหมายในหารใช้สารสนเทศ
8) เข้าถึงและใช้สารสนเทศได้อย่างมีจริยธรรมและถูกกฎหมาย
9) แบ่งประเภทจัดเก็บและสร้างความเหมาะสมให้กับสารสนเทศที่รวบรวมไว้
10) ตระหนักว่าการรู้สารสนเทศช่วยให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต

5. มาตรฐานของผู้รู้สารสนเทศ
          ได้เสนอมาตรฐานของผู้รู้สารสนเทศไว้ 3 ระดับด้วยกัน กล่าวคือ มาตรฐานทั่วไปประกอบด้วย มาตรฐานที่1-3 การเรียนรู้อย่างอิสระประกอบด้วยมาตรฐานที่ 4-6 และความรับผิดชอบต่อ
สังคมประกอบด้วยมาตรฐานที่7-8 ดังต่อไปนี้


มาตรฐานที่ 1 ผู้เรียนเข้าถึงสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล
มาตรฐานที่ 2 ผู้เรียนประเมินสารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณ และอย่างมีความสามารถ
มาตรฐานที่ 3 ผู้เรียนให้สารสนเทศอย่างถูกต้องและสร้างสรรค์ การเรียนรู้อย่างอิสระ
มาตรฐานที่ 4 ผู้เรียนมีอิสระในการเรียนรู้ ต้องรู้สารสนเทศ และแสวงหาสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับความสนใจส่วนตัวได้
มาตรฐานที่ 5 ขั้นประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผล (Evaluation) เป็นการวิเคราะห์สารสนเทศที่สืบค้นได้จากแหล่งต่าง ๆ และนำเสนอสารสนเทศ
มาตรฐานที่ 6 ผู้เรียนที่มีอิสระในการเรียนรู้ ต้องรู้สารสนเทศ ต้องมุ่งแสวงหาสารสนเทศ และสร้างองค์ความรู้อย่างยอดเยี่ยม ความรับผิดชอบต่อสังคม
มาตรฐานที่ 7 ผู้เรียนสร้างประโยชน์ต่อชุมชนแห่งการเรียนรู้และสังคม เป็นผู้รู้สารสนเทศและตระหนักถึงความสำคัญของสารสนเทศที่มีต่อสังคมประชาธิปไตย
มาตรฐานที่ 8 ผู้เรียนสร้างประโยชน์ต่อชุมชนแห่งการเรียนรู้และสังคม เป็นผู้รู้สารสนเทศ และฝึกฝนให้มีพฤติกรรมที่มีจริยธรรม อันเกี่ยวข้องกับสารสนเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศ

6. แนวทางการส่งเสริมการรู้สารสนเทศ
         แนวทางการส่งเสริมการรู้สารสนเทศมีหลายแนวทาง หากแนวทางที่มีรูปธรรมชัดเจนจากประเทศ
สหรัฐอเมริกา คือ TheBig 6 Skills Model ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยนักการศึกษาชื่อ Mike Eisenberg และ Bob
Berkowitz (2001-2006) โดยได้นำไปใช้ตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงระดับอุดมศึกษา เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย มีการนำไปประยุกต์เพื่อการเรียนการสอนทักษะสารสนเทศในสถาบันการศึกษาต่างๆ โดยมี 6 ขั้นตอน ได้แก่

ขั้นตอนที่ 1 การกำหนด ภาระงาน (Task Definition) เป็นการระบุปัญหา หรือกำหนดขอบเขตของสารสนเทศที่ต้องการใช้ และกำหนดวัตถุประสงค์เพื่อการค้นหาสารสนเทศในขั้นต่อไป

ขั้นตอนที่ 2 การกำหนดกลยุทธ์แสวงหาสารสนเทศ (Information Seeking Strategies) เป็นการกำหนดว่าแหล่งสารสนเทศใดมีสารสนเทศที่ต้องการ และประเมินความเหมาะสมของแหล่งสารสนเทศกับปัญหาที่ได้กำหนดไว้ข้างต้น เพื่อให้สารสนเทศได้ตรงกับความต้องการอย่างแท้จริง

ขั้นตอนที่ 3 การกำหนดแหล่งสารสนเทศและการเข้าถึงสารสนเทศ (Location and Access)เป็นการระบุแหล่งที่อยู่ของสารสนเทศและค้นหาสารสนเทศตามแหล่งสารสนเทศที่ได้กำหนดไว้

ขั้นตอนที่ 4 การใช้สารสนเทศ (Use of Information) เป็นการอ่าน พิจารณาสารสนเทศที่ต้องการและคัดเลือกข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องออกมาใช้ได้ตรงกับที่ต้องการ

ขั้นตอนที่ 5 ขั้นประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผล (Evaluation) เป็นการวิเคราะห์สารสนเทศที่สืบค้นได้จากแหล่งต่างๆ และนำเสนอสารสนเทศ


ขั้นตอนที่ 6 ขั้นประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผล (Evaluation) เป็นการวิเคราะห์สารสนเทศที่สืบค้นได้จากแหล่งต่างๆ และนำเสนอสารสนเทศ


           สำหรับงานวิจัยได้สังเคราะห์และพัฒนารูปแบบการรู้สารสนเทศสำหรับสังคมไทยขึ้นโดยมีพื้นฐานจาก The Big 6 Skills Model ดังกล่าวข้างต้น มี 4 ขั้นตอนได้แก่


1) กำหนดภารกิจคือต้องการรู้อะไรปัญหาหรือข้อสงสัยคืออะไร
2) ตรงจุดเข้าถึงแหล่งคือการหาคำตอบว่าอยู่ที่ไหน มีวิธีเข้าถึงและการใช้แหล่งความรู้ได้อย่างไร
3) ประเมินสารสนเทศ คือ การคัดสรรสารสนเทศอย่างไรให้ตรงกับสิ่งที่ต้องการรู้ และน่าเชื่อถือ
4) บูรณาการวิถีการใช้งาน คือ การมีวิธีใดใช้ในการนำสิ่งที่ค้นพบมาสรุป นำเสนอและสื่อสารกับผู้
อื่นประยุกต์ใช้แก้ปัญหาใช้อย่างมีจรรยาบรรณและถูกกฎหมาย

7.ประโยชน์ของการรู้สารสนเทศ
          การเสริมสร้างการรู้สารสนเทศ 4 ขั้นตอนคือ กำหนดภารกิจ ตรงจุดเข้าถึงแหล่ง ประเมินสารสนเทศ และบูรณาการวิถีการใช้งาน ได้ถูกนำไปใช้ โดยส่วนใหญ่ผู้สอนเริ่มเข้าใจและให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมการรู้สารสนเทศให้แก่ผู้เรียนของตน และพยายามคิดค้นกลยุทธ์ในการเสริมสร้างการเสริมสร้างการรู้สารสนเทศให้เหมาะสมกับธรรมชาติและบริบทของแต่ละท้องถิ่นโดยผู้สอน
ได้อำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนได้เรียนรู้สารสนเทศทั้งในสถาบันการศึกษาและในชุมชน สำหรับความคิดเห็นของผู้เรียน พบว่า ผู้เรียนส่วนใหญ่มีความสุขและชอบการเรียนสารสนเทศ โดยเฉพาะขั้นตรงจุดเข้าถึงแหล่ง เพราะได้มีโอกาสแสวงหาความรู้จากแหล่งความรู้ได้ตามที่ตนต้องการ โดยผู้เรียนกำหนดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง มีโอกาสค้นคว้าศึกษาหาความรู้จากแหล่งความรู้ต่างๆทั้งจากโลกแห่งความเป็นจริงภายในและภายนอกสถาบันการศึกษา และโลกของอิเล็กทรอนิกส์




วันจันทร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2556

บทที่ 2 บทบาทสารสนเทศกับสังคม


บทที่ 2 บทบาทสารสนเทศกับสังคม

1. บทนำ           
            ปลายศตวรรษที่ 20 โลกได้เข้าสู่ยุคของการปฏิวัติด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology Revolution) มีการนำทรัพยากรสารสนเทศมาใช้งานอย่างกว้างขวาง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกระบวนการดำเนินงานซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นของยุคแห่งข้อมูลข่าวสารทุกองค์กรนำกลไกการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ มีการนำเสนอข้อมูลได้หลากหลายรูปแบบเพื่อควบคุมการปฏิบัติงาน มีการติดต่อสื่อสารและใช้คอมพิวเตอร์ในการตัดสินใจ รวมถึงการประมวลผลด้านต่างๆ            
                ในปัจจุบันนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นทำให้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และการสื่อสารได้รับการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นและมีขนาดเล็กลง หรือที่เรียกว่า “นาโนเทคโนโลยี(Nanotechnology)” ทำให้การสื่อสารข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์เป็นไปอย่างฉับพลันผ่านทางด่วนสารสนเทศ (Information Superhighway)เช่น เครือข่ายอินเทอร์เน็ตซึ่งปัจจุบันมีผู้ใช้หลายพันล้านคนทั่วโลกและเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งช่วยให้การเข้าถึงสารสนเทศและบริการต่าง ๆ เป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็วและไร้พรมแดน โดยอาจเรียกได้ว่าเป็น “สังคมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Society)” หรือ “ชุมชนอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Community)”(พงษ์ศักดิ์ ผกามาศ. 2553)



2. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการใช้ชีวิตในสังคมปัจจุบัน           
            สารสนเทศเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งในปัจจุบัน และในยุคสังคมสารสนเทศแห่งศตวรรษที่ 21 สารสนเทศจะกลายเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดเหนือสิ่งอื่นใด กล่าวกันสั้นๆ สารสนเทศกำลังจะกลายเป็นฐานแห่งอำนาจอันแท้จริงในอนาคต ทั้งในทางเศรษฐกิจ และทางการเมือง            
             เทคโนโลยีสารสนเทศ คือ เทคโนโลยีคู่โลกในต้นศตวรรษที่ 21 และเป็นแรงกระตุ้นและเป็นปัจจัยรองรับ ขบวนการโลกาภิวัตน์ ที่กำลังผนวกสังคมเศรษฐกิจไทยเข้าเป็นอันหนึ่งเดียวกันกับสังคมโลกก ล่าวกันอย่างสั้นๆ เทคโนโลยีสารสนเทศ คือ เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการจัดหา วิเคราะห์ ประมวล จัดการและจัดเก็บ เรียกใช้หรือแลกเปลี่ยน และเผยแพร่สารสนเทศ ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์

forum.nanosofttech.com

  ผลประโยชน์ต่างๆ จากการประยุกต์ใช้ของเทคโนโลยีดังกล่าว ล้วนเกิดจากคุณสมบัติพิเศษหลายๆ ประการของเทคโนโลยีกลุ่มนี้ อันสืบเนื่องจากการพัฒนาของ เทคโนโลยีที่มีอัตราสูงและอย่างต่อเนื่องตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา วิวัฒนาการทางเทคโนโลยีนี้ส่งผลให้           
            1) ราคาของฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์ รวมทั้งค่าบริการ สำหรับการเก็บ การประมวล และการแลกเปลี่ยนเผยแพร่สารสนเทศมีการลดลงอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว          
            2) ทำให้สามารถนำพาอุปกรณ์ต่างๆ ทั้งคอมพิวเตอร์และ โทรคมนาคมติดตามตัวได้ เนื่องจากได้มีพัฒนาการการย่อส่วนของชิ้นส่วน (miniaturization) และพัฒนาการการสื่อสารระบบไร้สาย          
            3) ประการท้าย ที่จัดว่าสำคัญที่สุดก็ว่าได้คือ ทำให้เทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสารมุ่งเข้าสู่จุดที่ใกล้เคียงกัน (converge) ประเทศอุตสาหกรรมในโลกได้เล็งเห็นถึงศักยภาพของเทคโนโลยียุทธศาสตร์กลุ่มนี้ จึงให้ความสำคัญต่อเทคโนโลยีนี้มากกว่าเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่จัดเป็นเทคโนโลยียุทธศาสตร์สำคัญอีกหลายกลุ่ม ดังเช่นกลุ่มประเทศ OECD (Organization for Economic Co-operationand Development) ได้ศึกษาเปรียบเทียบ ศักยภาพของเทคโนโลยีไฮเทค 5 กลุ่มสำคัญในปัจจุบัน คือ เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีวัสดุใหม่ เทคโนโลยีอวกาศ เทคโนโลยีนิวเคลียร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศในประเด็นผลกระทบสำคัญ 5 ประเด็น ได้แก่
            1) การสร้างผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ
            2) การปรับปรุงกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์และบริการ
            3) การยอมรับจากสังคม
            4) การนำไปใช้ประยุกต์ในภาค/สาขาอื่นๆ
            5) การสร้างงานในทศวรรษปี 1990 ปรากฏว่าเทคโนโลยีสารสนเทศได้รับการยอมรับในศักยภาพสูงสุดในทุกๆ ประเด็น

3. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาสังคม            
            เทคโนโลยีสารสนเทศจัดว่ามีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศของทุกประเทศก็ว่าได้ ไม่ว่าจะเป็น ประเทศที่พัฒนาแล้ว หรือประเทศที่กำลังพัฒนา ในปัจจุบันอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศได้กลายเป็นอุตสาหกรรมผลิตที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกมีการประมาณการว่าตลาดโลกสำหรับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ โทรคมนาคม และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ จะมีขนาด 1,600 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 1994 ด้วยอัตราการเติบโตเฉลี่ยถึงร้อยละ 20 ต่อปี             
            เทคโนโลยีสารสนเทศจะมีผลกระทบต่อสังคมมากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับว่ามนุษย์จะเลือกใช้มันอย่างไร ในโลกปัจจุบันแรงผลักดันทางเศรษฐกิจมักจะมีบทบาทสูง ในการกำหนดทิศทางของเทคโนโลยีเป็นที่ทราบกันดีว่าเทคโนโลยีการสื่อสารทั้งในอดีตและปัจจุบันได้เปลี่ยนโฉมไปอย่างมาก ในอนาคตธุรกิจบันเทิงจะเป็นธุรกิจอีกประเภทหนึ่งที่จะทำเงินให้แก่ผู้ประกอบการทางด้านการสื่อสารโทรคมนาคม เนื่องจากเป็นธุรกิจที่มีอิทธิพลอย่างสูงกับแนวความคิด ความอ่านของผู้คนในสังคม เพราะเป็นวิถีทางหนึ่งที่ผู้ร่วมบันเทิงได้รับอิทธิพลทางความคิดจากผู้อื่นที่ร่วมอยู่ในวงบันเทิง และยอมรับสถานภาพว่าตนก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมนั้นๆ การถ่ายทอดแนวความคิดระหว่างบุคคลในสังคมนั้นก็เป็นสิ่งที่เราเรียกว่าวัฒนธรรมนั่นเอง



4. สารสนเทศกับบุคคล            
            การพัฒนาของเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้เกิดความต้องการและการใช้สารสนเทศของบุคคลเพิ่มมากขึ้น สารสนเทศมีการใช้สารสนเทศเพื่อให้เกิดความรู้และความเข้าใจในเรื่องที่ตนเกี่ยวข้อง และนำความรู้ความเข้าใจมาตัดสินใจแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ และรวดเร็ว ทันเวลากับสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม เป็นเรื่องที่มีความสำคัญไม่จำกัดเฉพาะนิสิตนักศึกษา นักวิชาการ แต่มีความสำคัญกับบุคคลในทุกสาขาอาชีพและทุกวัย

5. สารสนเทศกับสังคม
 5.1 ด้านการศึกษา            
            การจัดการเรียนการสอนในปัจจุบันมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยครูผู้สอนทำหน้าที่เป็นผู้แนะนำช่วยเหลือ และกระตุ้นให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง ส่งผลให้สารสนเทศมีความสำคัญต่อการเรียนการสอนในทุกระดับการศึกษา สารสนเทศที่ดีมีคุณค่าและทันสมัย จะช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล            
             5.2 ด้านสังคม            
             สารสนเทศช่วยพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ ช่วยพัฒนาบุคลิกภาพส่วนบุคคลให้อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข อีกทั้งช่วยให้เกิดความคิดสร้างสรรค เกิดการประดิษฐ์คิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่นำมาซึ่งความสะดวกสบายในการดำเนินชีวิต            
             5.3 ด้านเศรษฐกิจ            
             สารสนเทศมีความสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุคใหม่ที่เรียกว่า เศรษฐกิจบนฐานความรู้(Knowledge-based Economy) หน่วยงานหรือผู้ประกอบการธุรกิจให้ความสำคัญกับ “การจัดการความรู้” (knowledge management) เพื่อรักษาองค์ความรู้ขององค์กรไว้ สารสนเทศด้านธุรกิจการค้าจึงถือเป็นต้นทุนการผลิตที่สำคัญในการแข่งขัน            
             5.4 ด้านวัฒนธรรม            
            สารสนเทศเป็นรากฐานที่จำเป็นสำหรับความก้าวหน้าของอารยธรรม สารสนเทศช่วยสืบทอด ค่านิยมทัศนคติ ศิลปะ และวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์อันดีงามของชาติ ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจ ความสามัคคีความมั่นคงในชาติ

6. บทบาทเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการศึกษา
         เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา กล่าวคือนวัตกรรมทางการศึกษาในปัจจุบันเป็นผลสืบเนื่องจาการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น การผลิตสื่อการศึกษาในรูปแบบซีดีรอมช่วยให้นักเรียนที่เรียนรู้ช้าได้มีโอกาสเรียนรู้ตามศักยภาพของแต่ละคน การนำเสนอสื่อการศึกษาในปัจจุบันยังมีความหลากหลาย โดยมีการนำเสนอด้วยเสียง ข้อความ ภาพ และภาพเคลื่อนไหว ซึ่งเอื้อต่อการเรียนรู้และกระตุ้นความสนใจในการศึกษาของผู้เรียนทุกวัย นอกจากนี้เทคโนโลยีเสมือนจริง (Virtual Reality)ยังทำช่วยพัฒนาคุณภาพการศึกษาในวิชาชีพที่ภาคปฏิบัติมีความสำคัญ เช่น การฝึกนักบิน การสอนภาคปฏิบัติแก่นักนิสิคลินิก